วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เพื่อนของฉัน




ขณะที่เวลากำลังหมุนไป ทุกคนต่างต้องเดินตามทางที่กำหนดไว้

เวลาไม่เคยรอใคร มิตรภาพยังคงเดิม 

ผิดหวัง สมหวัง ทุก สุข ยังไง

พวกเราทุกคนก็๋ยังคือ "เพื่อน" เสมอ


---------------------------------------------------
อยากหยุดเวลาไว้เพื่อจะได้จดจำตลอดไป :)

Bleanded Learning


Bleanded Learning

ความหมายและความสำคัญ

          เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน

การใช้งานจริง ณ ขณะศึกษา

การใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ
1. กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ
2. กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน
3. กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษา


ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย

ประโยชน์ ข้อดี

1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว
10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้
11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา
13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้

ข้อเสีย

1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง
5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์)


ที่มา:http://www.learners.in.th/blogs/posts/256591
 

ประทับใจในโรงเรียนบางละมุง


เทคนิคการสอบสัมภาษณ์


คำถามยอดฮิต
1. เล่าประวัติแบบย่อ ๆของคุณให้ฟังหน่อยครับ / แนะนำตัวให้กรรมการฟังหน่อยครับ • ถามมาแบบนี้ จะถามทำไม ก้อดูเอาในประวัติสิคับ—–อย่าตอบไปเด็ดขาดเลยนะ เหอๆ (คิดในใจก้อพอ) ที่เค้าถามน่ะเพื่อดูภาพรวม, การแสดงความคิดเห็นของตนเอง ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เราก็ควรจะจัดลำดับคำตอบให้ดีนะ เรื่องของตัวเอง Present ให้เต็มที่เลย แต่ทว่า อย่าไปพูดวกไปวนมา หรือยืดยาวจนเกินไปนะ!!!! แนวๆประมาณ ชื่อ…..ชื่อเล่น…..มาจากรร.ไร…..ความสามารถพิเศษ…..หรืออย่างอื่นที่เราคิด ว่าเป็นจุดเด่นของตนเองประมาณเนี้ยยย ดังนั้นควนจะฝึกมาตั้งแต่ที่บ้านนะครับ
2.เหตุผล ทำไมๆๆ ถึงเลือกเรียนที่นี่ สาขานี้ • ในการตอบนั้น แต่ละคนอาจจะมีลักษณะคำตอบที่แตกต่างกัน แนวทางของคำตอบนั้น พยายามตอบเป็นกลางๆ คือไม่ได้ฟังดูดีมาก หรือห้วนจนเกินไป เพื่อความเป็นธรรมชาติ และไม่ดูเป็นสคริปต์มากนัก และที่สำคัญ ควรตอบคำถามทุกคำถามด้วยถ้อยคำชัดเจนและสุภาพ เพื่อแสดงความมั่นใจในตัวเองและความเคารพต่อกรรมการ
3. วิชาที่ชอบและไม่ชอบ
4. อาชีพในฝัน
5. ถ้าไม่ได้เรียนที่นี่ในคณะนี้ จะเรียนที่ไหน
6. ถ้าเรียนแล้วรู้ตัวว่าคณะนี้ไม่ใช่จะทำอย่างไร ( ตอบยากมาก )
7. เรียนหนักนะจะไหวหรอ • บอกไปเลยว่าจะพยายามให้ดีที่สุดถ้าได้โอกาศเข้าเรียน อย่าโม้เช่นว่า อย่างผมนะเก่งอยู่แล้วไม่มีอะไรยากสำหรับผม 55
8. ถ้าอาจารย์ถามถึงข้อเสียของเรา• เช่นเคยทำอะไรให้พ่อแม่เสียใจบ้าง เคยสร้างวีระกรรมอะไรไว้บ้างก็ ตอบตามความจริง เพราะอาจารย์บางคนจะไล่ถามถ้าเราแต่งเองก็จะจนมุมในที่สุด




เทคนิคการสอบสัมภาษณ์






วิธีเอาตัวรอดจาก 9 คำถามสัมภาษณ์งาน 
บ่อยครั้ง "คำถาม" ในการสัมภาษณ์ ก่อนรับเข้าทำงาน สร้างความตื่นเต้น จนหนุ่มสาวออฟฟิศ หลายคนสอบตก 
"การสัมภาษณ์งาน" ช่วยให้บริษัทผู้จ้าง รู้จักพนักงานใหม่ ที่จะรับเข้ามาร่วมงาน ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทัศนคติ ไปจนถึงลักษณะนิสัยส่วนตัว 
ลองอ่านคำถามทั้ง 9 ข้อต่อไปนี้ พร้อมคำตอบ ที่มีไว้ให้ คุณรู้สึกอย่างไร กับคำตอบเหล่านั้น 
1. เล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณ ให้พวกเราฟังหน่อย? • "ผมมีประสบการณ์ ครอบคลุมด้านพัฒนา กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างกว้างขวาง รวมทั้งตรวจสอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่" 
• "ผมก็เป็นเหมือนกับมนุษย์ทั่วไป ที่เขาเป็นกันนั่นแหละครับ" 
• "ผมเป็นแบทแมน!" 
2. อะไรคือข้อเสียที่สุดในตัวคุณ 
• "ผมเป็นคนค่อนข้างนิยมชมชอบ ความสมบูรณ์แบบ และมีความภาคภูมิใจในหน้าที่การงาน ที่ต้องรับผิดชอบอย่างมาก" 
• "ผมอยู่นิ่งไม่เป็น ซนเหมือนลูกม้ายังไงยังงั้น" 
3. เพราะเหตุใดคุณจึงตัดสินใจ ลาออกจากงานที่ทำอยู่เดิม • "ความสามารถของผม มีมากกว่าตำแหน่งเดิม ที่บริษัทเสนอให้" 
• "ผมมีปัญหาเล็กน้อยเกี่ยวกับข้อตกลงเรื่องการว่าจ้าง" 
• "นโยบายการล้างมือที่นั่นเข้มงวดเกินไป" 
• "เพื่อนร่วมงานที่นั่น ถามนู่นถามนี่มากเกินไป" 
• "เดาได้เลย.....ว่าคุณไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์" 
4. ถ้าคุณกับเจ้านายเกิดความตึงเครียด เรื่องการทำงานระหว่างกัน คุณจะจัดการอย่างไร • "ผมเชื่อว่า การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา จะช่วยคลี่คลายได้ทุกปัญหา" 
• "ผมจะใช้นโยบายความสัมพันธ์ส่วนตัวเข้าช่วย" 
5. คุณต้องการเงินเดือนเป็นค่าตอบแทนเท่าใด
• "ควรจะเทียบเคียงได้กับอัตราทั่วไปในปัจจุบัน" 
• "ผมไม่ทราบ แล้วเท่าไหร่ล่ะ ที่คุณตัดสินใจมาทำงานให้กับที่นี่" 
6. คุณเคยทำงานให้กับระดับผู้จัดการ ที่ยากในการทำงานด้วย หรือไม่ • "โดยทั่วไป ผมมีลักษณะนิสัยที่เข้ากับคนอื่นๆ ได้ดี" 
• "ก็เคยอยู่บ้าง แต่รับรองได้ คุณจะไม่ได้ยินข่าวคราวจากเขาแน่นอน" 
7. คุณจะเสนอขาย "ที่เย็บกระดาษ" ตัวนี้ ให้กับลูกค้าอย่างไร 
• "ควรจะรวบรวมการวิจัย ทางการตลาดให้มากๆ ก่อนเป็นอันดับแรก" 
• "ยื่นข้อเสนอในสิ่งที่คนซื้อไม่สามารถปฏิเสธได้" 
• "จ้างพนักงานแนะนำที่เป็นผู้หญิง ลูกค้าพร้อมจะเออออไปกับคนขายสวยๆ อยู่แล้ว" 
8. ลองแสดงให้พวกเราเห็นถึงความมีอารมณ์ขันของคุณ 
• "ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ผมยังพอมองหารอยยิ้มได้ ในสถานการณ์นั้น" 
• "ผมอยู่ตรงหน้าคุณแล้วไง... รึไม่มีใครมองเห็นผม" 
• "ดึงนิ้วมือผมเล่นสิ" 
9. ทำไมพวกเราจึงควรจ้างคุณ • "ผมสามารถช่วยงานบริษัทคุณได้" 
• "เพราะลึกๆ แล้ว คุณชอบผมน่ะสิ" 
• "ไม่เอาน่า... คุณมักทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากเสมอๆ เลยนะ" 
คำตอบแรกของทุกคำถาม คือคำตอบที่สร้างทัศนคติในเชิงบวกในการสัมภาษณ์งาน หากวันใดที่คุณเดินเข้าไปสมัครงาน หรือเปลี่ยนงาน และได้ยินคำถามเหล่านี้ หวังว่าคำตอบของคุณ คงอยู่ในแดนบวก มากกว่าลบ

วันหนึ่งที่ฉันเที่ยว

วันหนึ่งที่ฉันเที่ยว



ฉันมีความสุขมากที่ได้ไป ดรีมเวิร์ดเพราะว่านี้เป็นปีสุดท้ายที่พวกเราจะได้เจอกัน

ผมจำความสุขที่ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับเพื่อนอาจจะเป็นกิจกรรมเล็กๆหน่อยแต่มันยิ่งใหญ่กับ

พวกเรามากเพราะว่ามันเป็นสิ่งที่อาจจะมีอีกแล้ว ก้ได้เจออะไรอีกหลายอย่างเจอโหดบ้าง เบาบ้าง

แต่มันก็ดีที่ยังเป็นความทรงจำ

อาชีพในอนาคตของฉัน

อาชีพในอนาคตของฉัน













การจัดการโลจิสติกส์เป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกันตลอดกระบวนการธุรกิจทั้งภายนอกองค์กรและภายในองค์กร สำหรับการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรเริ่มตั้งแต่การขนส่งเคลื่อนย้ายวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน จัดเก็บในคลังวัตถุดิบเพื่อรอการผลิต เมื่อมีคำสั่งผลิตจึงนำวัตถุดิบไปแปรรูปตามขั้นตอนการผลิต จนสำเร็จได้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป บรรจุหีบห่อ นำเก็บเข้าคลังสินค้าเพื่อรอการจัดส่งให้ลูกค้า
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กร ประกอบด้วย การพัฒนาระบบการวางแผนโลจิสติกส์ การจัดซื้อ การบริหารวัตถุดิบคงคลัง การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ ชิ้นงานระหว่างผลิต และผลิตภัณฑ์ภายในโรงงาน การบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการคำสั่งซื้อ การจัดส่งสินค้า และเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลกิจกรรมธุรกิจขององค์กรทุกส่วนเข้าด้วยกัน รวมถึงระบบบัญชีการเงินและการบริหารองค์กรด้านต่างๆ

การวางแผนซัพพลายเชน เป็นการจัดทำแผนการตลาด แผนสินค้าคงคลัง แผนการผลิต  แผนวัตถุดิบคงคลัง และแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ ตลอดจนแผนการจัดส่งผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกันทั้งหมด ความถูกต้องของการพยากรณ์การขาย ความเข้าใจในช่วงเวลาส่งมอบของสินค้า (Lead Time) และความต่อเนื่องของแผนต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อประสิทธิภาพของแผนซัพพลายเชนและแผนโลจิสติกส์โดยรวม  

ระบบการจัดซื้อ ผู้ประกอบการต้องศึกษาให้เข้าใจลักษณะธุรกิจและกระบวนการผลิตของผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ทราบถึงช่วงเวลาส่งมอบและข้อจำกัดต่างๆ ของผู้ส่งมอบทุกราย เพื่อพิจารณารอบและปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม ลดความผิดพลาดในกระบวนการจัดซื้อ และควบคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมท่ามกลางสภาวะการณ์ที่ต้นทุนวัตถุดิบ พลังงาน และแรงงานสูงขึ้นอย่างมาก

การบริหารวัตถุดิบ ชิ้นงานระหว่างผลิต และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปคงคลังต้องมีการวางแผนตามความต้องการขายและผลิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการเก็บสินค้าคงคลังที่มากเกินไป ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนโลจิสติกส์สูงขึ้น และทำให้มีความยุ่งยากด้านการจัดเก็บ นอกจากนี้ยังต้องหลีกเลี่ยงการเก็บสินค้าคงคลังผลิตภัณฑ์ในระดับที่ต่ำเกินไปซึ่งจะทำให้เสียโอกาสในการขายหรือการเก็บสินค้าคงคลังของวัตถุดิบน้อยไปซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ต้องหยุดการผลิตลง

                 การจัดการคลังสินค้าและคลังวัตถุดิบ สำหรับวัตถุดิบต้องมีสถานที่จัดเก็บที่สามารถป้องกันความเสียหาย และต้องเป็นพื้นที่ที่สะดวกต่อการขนถ่าย สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุดิบได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป สำหรับชิ้นงานระหว่างผลิต ต้องจัดวางให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตในขั้นต่อไปได้อย่างถูกต้อง และไม่ควรให้เกิดการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้งหรือเป็นระยะทางไกลโดยมิได้มีอุปกรณ์ป้องกัน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่สินค้า สำหรับสินค้าสำเร็จรูป เป็นสินค้าคงคลังที่มีมูลค่าสูงที่สุด เพราะในตัวชิ้นงานมีต้นทุนที่ผ่านหลายกระบวนการรวมอยู่ จึงควรมีระบบการจัดเก็บและนำออก รวมทั้งพื้นที่จัดเก็บที่แน่นอนจัดวางตามการเคลื่อนไหวของสินค้า เช่น สินค้าค้างสต็อกควรอยู่ด้านในสุด สินค้าเคลื่อนไหวเร็วควรอยู่ใกล้ประตูคลังสินค้า เป็นต้น ระบบป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น มีป้ายบ่งชี้กระบวนการทำงาน ป้ายแจ้งเตือนต่างๆ อีกทั้งต้องมีการตรวจนับสินค้าคงคลังอยู่เสมอเพื่อทราบปริมาณที่แท้จริงสำหรับการขาย การวางแผน และการผลิตในครั้งต่อไป

การจัดการคำสั่งซื้อ ต้องให้ความสำคัญกับความถูกต้องของการให้ข้อมูลในคำสั่งซื้อ มีระบบตรวจสอบความพร้อมของสินค้าที่จะขาย ความพร้อมของการจัดส่ง และการตรวจสอบเครดิตของลูกค้า มีกระบวนการที่เชื่อมโยงกับฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายจัดส่งเพื่อให้เกิดการจัดเตรียมสินค้าและการจัดส่งได้อย่างถูกต้องตามรายการในคำสั่งซื้อ

การจัดส่งสินค้า ต้องให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมสินค้าของฝ่ายคลังและการจัดเตรียมรถบรรทุกของฝ่ายจัดส่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้สามารถส่งสินค้าได้อย่างถูกต้อง ตรงเวลา สามารถใช้ประโยชน์รถขนส่งได้อย่างเต็มที่  ได้แก่ การบรรทุกได้เต็มคัน และการทำรอบได้อย่างรวดเร็ว

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์และซัพพลายเชนได้แก่ การจัดให้มีบันทึกกิจกรรมทุกขั้นตอนของกระบวนการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์อย่างถูกต้องและตรงเวลา มีระบบเชื่อมโยงแผนและการปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ในซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ภายในองค์กร ทำให้การสื่อสารของข้อมูลด้านโลจิสติกส์เป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดข้อผิดพลาดอันอาจเกิดขึ้นได้จากการทำงานของพนักงานหลายๆ ฝ่าย นอกจากนี้ยังสามารถประมวลข้อมูลด้านการปฏิบัติการมาวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการ ตัวอย่างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ เช่น ระบบEnterprise Resource Planning (ERP) ระบบ Warehouse Management System (WMS) ระบบ Transport Management System (TMS) เป็นต้น

นอกจากการจัดการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ภายในองค์กรตามที่กล่าวข้างต้น ยังมีการบริหารจัดการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายนอก ได้แก่ คู่ค้าที่อยู่ในซัพพลายเชนเดียวกันซึ่งก็คือซัพพลายเออร์และลูกค้า ซัพพลายเชนดังกล่าวมิได้มีเพียงซัพพลายเชนเดียว แต่เป็นร่างแหซัพพลายเชนโดยแต่ละโรงงานมักจะมีการใช้วัตถุดิบและวัสดุหลายชนิดมาจากซัพพลายเออร์หลายแห่ง แต่ละแห่งก็อาจมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับลูกค้าซึ่งก็เป็นไปได้ที่เป็นผู้ซื้อสินค้าที่นำไปใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น บรรจุภัณฑ์โลหะ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมี หรือเป็นบรรจุภัณฑ์ในตลาดอุปโภคบริโภคโดยตรง เช่น กล่องปากกา ดินสอ เป็นต้น ดังนั้นการบริหารซัพพลายเชนระหว่างองค์กรจึงมีความซับซ้อนมากกว่า สถานประกอบการที่มีข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจในแต่ละซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ภายในองค์กรและสามารถทำการเชื่อมโยงแผนและการปฏิบัติการได้ดี ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า